แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โครงสร้าง modular แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โครงสร้าง modular แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561

งานติดตั้งอาคารระบบ modular

   ก่อนเริ่มติดตั้งโครงสร้าง modular นั้นจะต้องมีการเตรียมโครงสร้างคอนกรีตฐานรากและคานเพื่อรองรับน้ำหนักอาคาร modular ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถเริ่มทำพร้อมกันกับงานประกอบโครงสร้าง modular ที่โรงงานได้  จึงทำให้ลดเวลาทำงานส่วนนี้ลงได้ด้วย
   คานคอนกรีตนั้นต้องมีการปรับระดับหลังคานให้เรียบและได้ระดับตามที่กำหนดในแบบ เพื่อให้โครงสร้าง modular สามารถวางแนบกับคานคอนกรีตได้  รวมทั้งมีการวาง plate เหล็กในคานคอนกรีตด้วย เพื่อใช้เชื่อมยึดกับโครงสร้าง modular ต่อไป


ภาพคานคอนกรีตรองรับโครงสร้าง modular

ภาพ plate เหล็กที่วางยึดกับคานคอนกรีต

        หลังจากเตรียมงานคอนกรีตและวางท่อสำหรับงานสุขาภิบาลไว้พร้อมแล้ว จึงเริ่มจัดส่งชิ้นส่วนโครงสร้าง modular มายังหน้างาน โดยต้องมีการวางแผนการจัดลำดับหมายเลข (Type Number) ของ modular ที่จะส่งมาหน้างาน ให้สัมพันธ์กับลำดับการติดตั้งหน้างานเพื่อความสะดวกในการติดตั้ง
       โดยการติดตั้งนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงานเป็นหลัก เช่น รถเครน สลิง เฟรมเหล็กสำหรับยก ต้องมีการคำนวณตรวจสอบโดยวิศวกรว่าสามารถรับน้ำหนักของ modular ได้
        หลังจากยกชิ้นส่วนโครงสร้าง modular  วางบนคานคอนกรีตแล้ว จะต้องมีการตรวจสอบตำแหน่งให้ถูกต้อง  เพราะถ้าการจัดวางตำแหน่งผิดพลาดจะกระทบกับ ชิ้นส่วน modular ตัวอื่นๆให้ผิดพลาดไปด้วย
        เมื่อวางชิ้นส่วนโครงสร้าง modular เข้าตามตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว จะต้องทำการยึดด้วย bolt ทันที่

ภาพขณะขนส่งชิ้นส่วน modular มายังหน้างานเพื่อยกติดตั้ง

ภาพขณะกำลังยกชิ้นส่วน modularเพื่อติดตั้ง

                    ภาพขณะกำลังยกชิ้นส่วน modularเพื่อติดตั้ง

ภาพขณะวางชิ้นส่วน modular เข้าตามตำแหน่ง

ภาพการยึดชิ้นส่วน modular กับ base plate คานคอนกรีต


       ภาพการใส่ bolt เพื่อยึดชิ้นส่วน modular


ภาพเมื่อติดตั้งแล้วเสร็จ และเริ่มเปิดใช้อาคาร



วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การประกอบชิ้นส่วน modular ที่โรงงาน ประกอบด้วย


   1. การประกอบส่วนของโครงสร้าง เช่น เชื่อมประกอบโครงเหล็ก  การเทพื้นคอนกรีต
       ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการประกอบโครงสร้างก็คือ ต้องมีการควบคุมและตรวจสอบระยะและขนาดของ modular ทุกส่วน เนื่องจากชิ้นส่วน modular นั้น ติดตั้งด้วยระบบ bolt joint  หากมีชิ้นส่วนบางตัวไม่ได้ขนาดตามที่กำหนด ก็จะไม่สามารถติดตั้งได้พอดีกับชิ้นส่วนอื่น
       
     ภาพการเชื่อมประกอบโครงสร้าง modular

ภาพชิ้นส่วน modular เพื่อเตรียมประกอบ



                   ภาพโครงสร้าง modular ใน line การผลิต


    2. การประกอบส่วนงานสถาปัตยกรรม เช่น ผนัง ฝ้า ปูกระเบื้องพื้น


ภาพผนังและฝ้าที่ติดตั้งแล้ว



    3. การติดตั้งระบบไฟฟ้า และระบบสุขาภิบาล


ภาพขณะติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบท่อต่างๆ



    ในส่วนของโรงงานผลิตจะมีการทดลองประกอบชิ้นส่วน modular  ก่อนขนส่งไปหน้างานก่อสร้าง เพื่อป้องกันความผิดพลาด








ภาพขณะทดลองประกอบชิ้นส่วน modular ที่โรงงาน

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ขั้นตอนการออกแบบโครงสร้างระบบโมดูลาร์ (Design Modular System)

ในการออกแบบต้องมีการวางแผนโดยต้องคำนึงถึงเรื่องสำคัญ ดังนี้

  1. ขนาดของชิ้นส่วนโมดูลาร์ หรือขนาดของแต่ละ unit โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงประกอบด้วย

  - ขนาดของชิ้นงานที่สามารถจัดส่งได้ ความยาว ความกว้างของชิ้นงาน อาจขึ้นอยู่กับขนาดของรถที่ใช้ขนส่งเป็นหลัก ความสูงของชิ้นงานอาจต้องพิจารณารวมกับความสูงของ trailer รถบรรทุก ว่าสามารถลอดผ่านสะพานลอย หรือแนวสายไฟฟ้า ตามเส้นทางของส่งได้หรือไม่

  - น้ำหนักของชิ้นส่วนโมดูลาร์แต่ละส่วน ซึ่งจะมีผลกับเลือกใช้เครนในการยกติดตั้งด้วย

   หลังจากที่ทราบขนาดที่เป็นไปได้ของชิ้นส่วนโมดูลาร์แล้ว เราก็จะนำข้อมูลนี้ มาจัดแบ่งส่วนของอาคารออกเป็นส่วนๆ เพื่อใส่รายละเอียดของโครงสร้างแต่ละส่วนต่อไป


แปลนอาคารหอพัก




รูปด้านอาคารหอพัก



การแบ่งชิ้นส่วนโมดูลาร์แต่ละ UNIT






ลักษณะชิ้นส่วนโมดูลาร์แต่ละ UNIT



รูปตัดอาคารแสดงชิ้นส่วนโมดูลาร์

  2. การยึดชิ้นส่วนโมดูลาร์แต่ละส่วนเข้าด้วยกัน ควรเลือกใช้วิธีที่สามารถทำการติดตั้งได้ สะดวกรวดเร็ว เช่นการยึดด้วย bolt เป็นต้น


ลักษณะการต่อยึดโครงสร้างโมดูลาร์


  3. การคำนวณโครงสร้าง แบ่งการคำนวณออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

  - การคำนวณโครงสร้างอาคารทั้งหลัง โดยพิจารณาในลักษณะที่ชิ้นส่วนโมดูลาร์ ได้ประกอบกันเป็นอาคารเรียบร้อยแล้ว โดยพิจารณา load ต่างๆ ที่กระทำกับอาคารเช่นเดียวกับ การคำนวณโครงสร้างอาคารทั่วไป

  - การคำนวณโครงสร้างโมดูลาร์แต่ละแบบ ในขณะที่ทำการยกเพื่อขนส่งหรือยกติดตั้ง ซึ่งต้องมีการออกแบบจุดยกชิ้นงานให้เหมาะสมด้วย

  - การคำนวณออกแบบจุดยึดต่างๆ (Design Connection Joint ) ซึ่งจุดยึดแต่ละจุดนั้นจะต้องตวจสอบว่าสามารถรับแรงกระทำที่เกิดขึ้นได้



วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

โครงสร้างระบบโมดูลาร์ ( modular system )



       อธิบายให้เข้าใจง่ายๆคือโครงสร้างอาคารที่ยกมาวางต่อกันเป็นส่วนๆ  โดยมีการประกอบชิ้นส่วนโครงสร้างส่วนใหญ่จากโรงงาน  แล้วขนส่งมาที่จุดก่อสร้างเพื่อประกอบเป็นตัวอาคารต่อไป

 ข้อดีของโครงสร้างระบบโมดูลาร์

- สามารถควบคุมคุณภาพของงานได้ดี เนื่องจากงานส่วนใหญ่นั้นทำภายในโรงงาน
- ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างน้อย เมื่อเทียบกับงานก่อสร้างระบบอื่นๆ

เงื่อนไขในการก่อสร้างระบบโมดูลาร์

- ผู้ออกแบบและผู้ก่อสร้างต้องมีทักษะและประสบการณ์ในการทำงานระบบนี้เท่านั้น เนื่องจากเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดและความแม่นยำสูง 

- เหมาะกับอาคารที่มีรูปร่างเป็นทรงกล่อง เช่น บ้านพักอาศัย หอพัก คอนโด โรงแรม ( อาคารรูปแบบอื่นๆสามารถใช้ระบบโมดูลาร์ได้เช่นกัน แต่อาจจะต้องมีการผสมผสานกับโครงสร้างระบบอื่นด้วย)


ตัวอย่างอาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบโมดูลาร์

อาคารจอมพลเฮ้าส์ อ.จอมบึง จ.ราชบุรี

- ผู้ออกแบบ : ก้องกริต วังแก้ว (บริษัท 204 จำกัด)

- ผู้ก่อสร้าง : บมจ. สยามสตีลอินเตอร์เนชั่นแนล



 ( ภาพอาคาร จอมพลเฮ้าส์ อ.จอมบึง จ.ราชบุรี)


ตัวอย่างบ้านพักอาศัยระบบโมดูลาร์
(โดย บมจ. สยามสตีลอินเตอร์เนชั่นแนล)



                      ตัวอย่างอาคารสำนักงานระบบโมดูลาร์
                  (โดย บมจ. สยามสตีลอินเตอร์เนชั่นแนล)

บ้านพักอาศัย ระบบ Modular

  ข้อมูลโครงการ ชื่อโครงการ : Siam Steel & Panasonic Experience Center ที่ตั้งโครงการ : อ. พระประแดง จ.สมุทรปราการ รูปแบบอาคาร :  บ้านตั...